วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ชนเผ่าลีซอ

ประวัติชนเผ่า ลีซู(ลีซอ)



 ตำนานของลีซู จะมีตำนานเล่าคล้ายๆกับชนเผ่าอื่นๆ เผ่าในเอเชียอาคเนย์ถึงน้ำท่วมโลกครั้งใหญ่ ซึ่งมีผู้รอดชีวิตอยู่เพียงหญิงหนึ่งชายหนึ่งซึ่งเป็นพี่น้องกันเพราะได้ อาศัยโดยสารอยู่ในน้ำเต้าใบมหึมา พอน้ำแห้งสองพี่น้องก็ออกมาและตามหาใครก็ไม่พบ จึงประจักษ์ใจว่าตนเป็นหญิงชายคู่สุดท้ายในโลก ซึ่งถ้าไม่สืบสายพันธุ์มนุษยชาติก็ต้องเป็นอันสูญพันธุ์ไป แต่ก็ตะขิดตะขวงใจในการเป็นพี่น้อง เป็นกำลังจึงต้องเสี่ยงทายฟังความเห็นของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เห็นมีโม่อยู่บนยอดเขาจึงจับตัวครกกับลูกโม่แยกกันเข็นให้กลิ้งลงจากเขาคนละ ฟาก โม่เจ้ากรรมพอจะถึงตีนก็ไม่ยอมหยุดนิ่ง อุตสาห์กลิ้งอ้อมตีนเขาไปรวมกันเข้ารูปเดิมอย่างดิบดี ไม่ว่าจะลองเสี่ยงทายด้วยอะไรก็จะได้ผลแบบนี้ทั้งนั้น พี่ชายน้องสาวเห็นว่าพระเจ้ายินยอมพร้อมใจให้สืบพันธุ์แน่ ๆ จึงแต่งงานกันไม่นานก็มีลูกด้วยกัน


ความหมายคำว่าลีซู     ลีซูมีความเชื่อว่าเป็นชนเผ่าที่มีการแต่งกายมีสีสรรสดใส และหลากสีมาก ความกล้าในการตัดสินใจ และความเป็นอิสระชนสะท้อนออกมาให้เห็น จากการใช้สีตัดกันอย่างรุนแรงในการเครื่องแต่งกาย คนอื่นเรียกว่าลีซอ แต่เรียกตนเองว่า “ลีซู” (คำว่า “ลี” มาจาก “อิ๊หลี่” แปลว่า จารีต ประเพณีหรือวัฒนธรรม “ซู” แปลว่า “คน”) มีความหมายว่ากลุ่มชนที่มีขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี และความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของตนเอง อาจกล่าวได้ว่าชาวลีซูเป็นกลุ่มชนที่รักอิสระ มีระบบจัดการความสัมพันธ์ทางสังคมที่ยืดหยุ่น เป็นนักจัดการที่มีประสิทธิภาพ จะไม่ยอมรับสิ่งใหม่โดยไม่ผ่านการเลือกสรร และจะไม่ปฏิเสธวัฒนธรรมที่แตกต่างโดยไม่แยกแยะ ด้วยเหตุนี้เองทำให้ชาวลีซูมีศักยภาพในการปรับตัวเข้ากับ
ความเปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี


ความเป็นมา
ลีซูเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่จัดอยู่ในกลุ่มธิเบต – พม่า ของชนชาติโลโล ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของชนเผ่าลีซูอยู่บริเวณต้นน้ำโขงและแม่น้ำสาละวิน   อยู่เหนือหุบเขาสาละวินในเขตมณฑลยูนนานตะวันตกเฉียงเหนือและตอนเหนือของรัฐคะฉิ่น ประเทศพม่า ชนเผ่าลีซูส่วนใหญ่เชื่อว่าเมื่อ ๔,๐๐๐ปีที่ผ่านมาพวกตนเคยมีอาณาจักร เป็นของตนเอง แต่ต้องเสียดินแดนให้กับจีนและกลายเป็นคนไร้ชาติต่อมาชนเผ่าลีซู จึงได้เคลื่อนย้ายเข้าสู่รัฐฉานตอนใต้ กระจัดกระจายอยู่ตามภูเขาในเมืองต่าง ๆ เช่น เมืองเชียงตุง บางส่วนอพยพไปอยู่เขตเมืองซือเหมา สิบสองปันนา ประเทศจีน หลังจากนั้นได้อพยพลงมา ทางใต้เนื่องจากเกิดการสู้รบกันระหว่างชนเผ่าอื่น นับเวลาหลายศตวรรษ ชนเผ่าลีซูได้ถอยร่นเรื่อยลงมา จนในที่สุดก็แตกกระจายกัน เข้าสู่ประเทศพม่า จีน อินเดีย แล้วเข้าสู่ประเทศไทย เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2464 กลุ่มแรกมี 4 ครอบครัว มาตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนครั้งแรกอยู่ที่บ้านห้วยส้าน อ.เมือง จ.เชียงราย อยู่ได้โดยประมาณ 5-6 ปี ก็มีการแยกกลุ่มไปอยู่หมู่บ้านดอยช้าง ทำมาหากินอยู่แถบ ต.วาวี อ.แม่สรวย จ.เชียงราย จากการสอบถามคนเฒ่าคนแก่ชาวลีซู ถึงเรื่องราวการอพยพว่า  ได้อพยพมาจากหมู่บ้านแห่งหนึ่งทางตอนใต้ของเมืองเชียงตุงประเทศพม่า เข้ามาตั้งถิ่น ฐานอยู่ที่บ้านลีซูห้วยส้าน อ.เมือง จ.เชียงราย และโยกย้ายไปตั้งบ้านเรือน ในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ตาก พะเยา กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ แพร่และสุโขทัย ลีซูไม่มีภาษาเขียนของตนเองลีซูแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ ลีซูลายกับลีซูดำ ชาวลีซูที่อยู่ในประเทศไทยเกือบทั้งหมดเป็นลีซูลาย ส่วนลีซูดำนั้นอยู่ พม่า จีน


ลายผ้าของชนเผ่าลีซอ




ชนเผ่าม้ง

รูปภาพการแต่งกายของชนเผ่า
ประวิติความเป็นมาของชนเผ่าม้งหรือ (แม้ว)
ยังไม่มีผู้ใดสามารถสรุปได้ว่าชนชาติม้งมาจากที่ไหน แต่สันนิษฐานกันว่าม้งคงจะอพยพมาจากที่ราบสูงธิเบต ไซบีเรีย และมองโกเลีย เข้าสู่ประเทศจีน และตั้งหลักแหล่งอยู่แถบลุ่มแม่น้ำเหลือง (แม่น้ำฮวงโห) เมื่อราว 3,000 ปีมาแล้ว ซึ่งชาวเขาเผ่าม้งจะตั้งถิ่นฐานอยู่ในมณฑลไกวเจา ฮุนหนำ กวางสี และมณฑลยูนาน ม้งอาศัยอยู่ในประเทศจีนมาหลายศตรรษ จนกระทั่ง ประมาณคริสตศตวรรษที่ 17 ราชวงค์แมนจู (เหม็ง) มีอำนาจในประเทศจีน กษัตริย์จีนในราชวงค์เหม็งได้เปลี่ยนนโยบายเป็นการปราบปราม เพราะเห็นว่าม้งที่เป็นผู้ชายส่วนใหญ่แล้วรูปร่างหน้าตาคล้ายกับคนรัสเซีย ทำให้คนจีนคิดว่า ม้งเป็นคนรัสเซีย จึงเป็นเหตุให้มีการปราบปรามม้งเกิดขึ้น โดยให้ชาวม้งยอมจำนน และยอมรับวัฒนธรรมของจีน และอีกประการหนึ่งคือเห็นว่า ม้งเป็นพวกอนารยชนแห่งขุนเขา (คนป่าเถื่อน) จึงได้มีการต่อสู้กันอย่างรุนแรงในหลายแห่ง เช่น ในเมืองพังหยุนในปี พ.ศ.2009 และการต่อสู้ในมณฑลไกวเจาในระหว่าง พ.ศ. 2276 - 2278 และการต่อสู้ในมณฑลเสฉวนในระหว่าง พ.ศ. 2306 – 2318
ในที่สุด ชาวม้งประสบกับความพ่ายแพ้ สูญเสียพลรบ และประชากรเป็นจำนวนมาก ในที่สุดม้งก็เริ่มอพยพถอยร่นสู่ ทางใต้ และกระจายเป็น
กลุ่มย่อย ๆ กลับขึ้นอยู่บนที่สูงป่าเขาในแคว้นสิบสองจุไทย สิบสองปันนา และอีกกลุ่มได้อพยพไปตามทิศตะวันออกเฉียงเหนือของราชอาณาจักรลาว
บริเวณทุ่งไหหินเดียนเบียนฟู โดยมีหัวหน้าม้งคนหนึ่ง คือ นายพลวังปอ ได้ราบรวมม้ง และอพยพเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อประมาณ พ.ศ. 2400 เศษ เป็นต้นมา
ปัจจุบันชาวม้งส่วนใหญ่ในประเทศไทย ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามภูเขาสูง หรือที่ราบเชิงเขาในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำปาง กำแพงเพชร เลย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย และตาก มีจำนวนประชากรทั้งสิ้นประมาณ 151,080 คน

วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554

ชนเผ่าละว้า

ประวัติของชนเผ่าละว้า(ลัวะ)
             นี้จะเป็นงานในการเดินขบานของชนเผ่าเพื่อเป็นการให้เห็นถึงความสวยงามของชุดชนเผ่าและความเป็นอยู่ของชนเผ่าการพัฒนา การศึกษาของพื้นที่ราบสูง มีการศึกษาที่เทียบเท่ากับคนพื้นที่ราบทุกคน ให้เห็นถึงประเพณีและวัฒนธรรมต่างที่มีความตื่นตาสวยงาม เป็นการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบที่สามารถให้ทุกคนเข้าถึงเห็นถึงคุณค่าของเพื่อนร่วมชาติด้วยกัน เทศกาลนี้จะจัดขึ้นทุกปี ที่
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ทุกปี มี ทุกชนเผ่าเข้าร่วมกิจกกรม สนุก มากๆ มีการละเล่นของชนเผ่าให้เห็นและสามารถเข้าร่วมสนุกด้วยกันได้ตลอดงาน สร้างความสัมพันธ์ ซึ่งและกัน

รูปถ่ายหมู่ ของชนเผ่าละว้า



     วันนี้ผมจะมานำเสนออีกหนึ่ง คือ ชนเผ่าละว่าให้เพื่อนๆได้รับทราบกัน และทราบประวัติความเป็นมาและวัฒนธรรมของชนเผ่าละว้าให้เพื่อนๆได้รู้กัน ชนเผ่าละว้าเป็นอีกชนเผ่าหนึ่งที่อพยพมาจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเมืองเชียงใหม่สมัยก่อนเป็นเมืองของชนเผ่าลัวะและมีการขยายอณาเขตและกระจายออกไปตั้งถิ่นฐานตามภูมิประเทศต่างๆออกไป ซึ่งชนเผ่าลัวะหรือละว้าในปัจจุบันจะอาศัยในจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป้นส่วนมากในปัจจุบัน



รูปถ่าย ผม ในชุด ชนเผ่าละว้า

วัฒนธรรมของชนเผ่าลาฮู

      วันนี้ผมจะนำเสนอวัฒนธรรมของชนเผ่าลาฮูมาให้เพื่อนๆได้ดูกัน ซึ่งชนเผ่าลาฮูจะอาศัยอยู่ตามที่ต่างๆของภูมิประเทศและที่เชียงดาวเป็นอีกที่หนึ่งที่ผมได้ไปเที่ยวและได้มีการละเล่นพื้นบ้านของชนเผ่า  ซึ่งเรียกว่าการเต้นจะคึก  ซึ่งผมได้มีโอกาสได้ไปเที่ยวและร่วมในการเต้นครั้งนี้ด้วย วัฒนธรรมนี้จัดขึ้นปีล่ะครั้ง ซึ่งตรงวันที่ 3-7 มกราคม ทุกปี